Winnie The Pooh Bear

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย

โดย นายบุญไทย แสนอุบล


การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ ซึ่ง ดร.ดินา สตาเคิล ได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้
     หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
     หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
     หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
     หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท

     ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

1. การสังเกต
2. การจำแนกประเภท
3. การสื่อความหมาย
4. ทักษะการลงความเห็น

    ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5 ขั้นดังนี้

     ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด้กปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
     ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า
     ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2
     ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน
     ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
    
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่งเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้

     เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี
ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ
ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น

     สาระที่เด็กต้องเรียน

สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้
สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์
สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย
สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน
สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน
สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์

     หลักการจัดกิจกรรม

     หลักการจัดกิจกรรมสามารถแบ่งได้ 5 ข้อ ดังนี้
1. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก
2. เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ
3. เด็กต้องการและสนใจ
4. ไม่ซับซ้อน
5. สมดุล

     สิ่งที่ได้จากวิทยาศาสตร์นั้น คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยในการค้นคว้า การสืบค้น และการเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว รู้จักการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2
สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วยกลางวัน-กลางคืน

ผู้วิจัย สุพรรณา บุตรพรม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

1. ได้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่2 ที่สอดคล้องกับความต้องการความสนใจและความสามารถของเด็กมากขึ้น
2. เป็นข้อสนเทศสำหรับครูและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเสริมสร้างการเรียนรู้จากสภาพชีวิตจริงของเด็กให้บรรลุผลมากยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
     ประชากรได้แก่เด็กอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่4(พนาศึกษา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 10 ห้องเรียน จำนวน 224 คน
     กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กอนุบาลชั้นปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านหนองโกโพธิ์เงินคำผักกูด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต3 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
2.หน่วยการเรียนรู้
     หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้ในการทดลองคือ หน่วย กลางวัน-กลางคืน โดยจัดทำเป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จำนวน 10 แผน จากประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 20 ชั่วโมง
3. ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า
     ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2549 ระยะวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง วันที่ 10 ตุลาคม 2549 รวมเวลาทดลองสอน 20 ชั่วโมง

การดำเนินการทดลองและระยะเวลาในการทดลอง

1. การดำเนินการศึกษา
     การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน ประกอบการจัดประสบการณ์ จำนวน 10 แผน การเรียนรู้ จัดประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 20 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการจัดประสบการณ์ด้วยตนเองดังนี้
     - ทดสอบความพร้อมทางการเรียน เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย กลางวัน-กลางคืน ด้วยข้อสอบที่มีตัวเลือกเป็นรูปภาพ แบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ก่อนเรียนใน วันที่ 10 กรกฎาคม 2549
     - ดำเนินการจัดกิจกรรมด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วยกลางวัน-กลางคืน ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม. 2549 ถึง วันที่ 21 กรกฎาคม 2549 และประเมินพฤติกรรมการเรียนของเด็กระหว่างเรียนในแต่ละแผน ตามแบบประเมินความพร้อมทางการเรียนและบันทึกคะแนนไว้ในแต่ละแผนจนครบจำนวน 10 แผน
     - เมื่อดำเนินการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัวหน่วย กลางวัน-กลางคืน เสร็จสิ้นแล้ว ทำการทดสอบความพร้อมทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียนในวันที่. 21 กรกฎาคม 2549
   - วัดความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2549
     - นำคะแนนที่ได้จากการเก็บข้อมูลทั้งหมด มาวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางสถิติ


เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด คือ
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน จำนวน 10 แผน จัดประสบการณ์แผนละ 2 ชั่วโมง รวมเวลา 20 ชั่วโมง
2. แบบทดสอบความพร้อมทางการเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย กลางวัน-กลางคืน เป็นข้อสอบที่มีตัวเลือกเป็นรูปภาพแบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
3. แบบวัดความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์เพื่อแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าสามระดับจำนวน 10 ข้อ

สรุปผล
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืนสรุปผลได้ตามลำดับดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน มีประสิทธิภาพ 84.67/81.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน หน่วย กลางวัน- กลางคืน มีค่าเท่ากับ 0.5689 แสดงว่าชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 56.89
3. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจที่จะได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระธรรมชาติรอบตัว หน่วย กลางวัน-กลางคืน โดยรวมอยู่ในระดับมาก




สรุปสื่อวิทยาศาสตร์

สรุปกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


จากคลิปวิดิโอ สามารถสรุปได้ว่า กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กเด็กด้วยของเล่นและการทดลองจากหลักการวิทยาศาสตร์ของเล่นและการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่ายเด็กเด็กจะได้มีโอกาสทำเล่นเอง

ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องแรงลอยตัวสร้างนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
หลอดลอยได้เพราะมีอากาศถูกกักไว้แรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่เมื่อเราบีบขวดความดันภายในขวดเพิ่มขึ้นทำให้บริมาณอากาศเล็กลงแรงลอยตัวจึงลด หลอดจึงจม เมื่อเราคลายขวดความดันในขวดก็จะลดลงเมื่อความดันอากาศลดลงปริมาณอากาศก็จะเพิ่มขึ้น แรงลอสตัวก็จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณอากาศหลอดจึงลอย

ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศและความดันของอากาศ เลี้ยงลูกด้วยลม
ธรรมชาติของอากาศก็คือที่ใดที่อากาศไหลเร็วความดันอากาศแถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบรอบมีความดันอากาศมากกว่าก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันว่าเค้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการนี้เรียกว่าหลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป๋าลมใต้ลูกบอลแรงลมก็จะพัดให้ลูกบอลลอยขึ้นนมที่โดนด้านล่างของลูกบอลก็จะไหลไปด้านข้างขึ้นไปข้างบนลมเหล่านี้วิ่งเร็วกว่าอากาศที่อยู่ห่างออกไปจากลูกบอล ความดันข้างๆใกล้ๆจึงต่ำกว่าความดันที่ห่างออกไปจึงมีแรงผลักจากรอบรอบให้ลูกบอลอยู่บริเวณที่มีลมเป่าขึ้นเสมอเราจึงสามารถเลี้ยงลูกบอลอยู่ได้นานนาน

                ตัวอย่างที่ 3 สร้างมอเตอร์ไฟฟ้าแบบง่ายง่าย
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลใกล้ใกล้แม่เหล็กจะมีแรงดูดหรือแรงผักกระทำกับกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็กแรงที่ว่านี้จะตั้งฉากกับทั้งทิศทางการไหลของกระแสและทิศทางของสนามแม่เหล็ก เราสามารถแสดงผลของแรงอันนี้ได้ด้วยการสร้างมอเตอร์แบบง่ายที่เรียกว่า  โฮโมโพลาร์มอเตอร์

                ตัวอย่างที่ 4 กลหลอกพ่อแม่ด้วยแรงตึงผิวของน้ำ
การเล่นกลโดยเอาน้ำเติมแก้ว แล้วเอาจุกคอร์กลอย ถ้าเราเติมน้ำจนล้นปรี่แรงตึงผิวของน้ำจะทำให้น้ำโค้งขึ้น เป็นรูปกะทะคว่ำ ทำให้น้ำตรงกลางอยู่สูงที่สุด จุกคอร์กจึงลอยอยู่ตรงกลาง ถ้าเราเติมน้ำให้เกือบเต็มน้ำส่วนที่ติดกับแก้วจะอยู่สูงกว่าน้ำตรงกลางทำให้ผิวน้ำเหมือนกระทะหงาย จุกคอร์กจึงลอยไปติดกับขอบแก้ว

                ตัวอย่างที่ 5 ถุงพลาวติกมหัศจรรย์
พลาสติกมีหลายชนิดถ้าเรามองขยายมากๆเราจะเห็นส่วนประกอบของพลาสติกเป็นเส้น เส้นเส้นเล็กๆเหล่านี้เกาะติดกันอย่างเหนียวแน่น เมื่อเราค่อยค่อยแทงถุงช้าๆเส้นเล็กๆมีเวลาที่จะคลายตัว ทำให้เนื้อพลาสติกขยาย เมื่อเหนือพลาสติกขยายตัวจนทนไม่ไหวแล้วดินสอก็จะทะลุเข้าไปแต่เนื้อพลาสติกที่ขยายรอบรอบดินสอจะติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้



บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30-17.30 น.


Knowledge(ความรู้)

สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์

กลุ่มตนเอง หน่วย ไก่ เรื่องสายพันธุ์ของไก่(วันจันทร์)

ขั้นนำ
1. ครูพาเด็กๆท่องคำคล้องจองไก่
2. ครูถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีไก่สายพันธุ์ใดบ้าง
3.ครูถามเด็กฟว่านอกจากสายพันธุ์ไก่ในคำคล้องจองแล้วเด็กๆรู้จักไก่สายพันธุ์ใดอีกบ้าง




ขั้นสอน
4. นำเล้าไก่ออกมาแล้วถามเด็กๆว่าในเล่ามีอะไรอยู่
5. หยิบไก่ออกมาแล้วถามเด็กๆว่า เด็กๆรู้มั้ยนี่คือไก่สายพันธุ์ใด
6. เมื่อนำไก่ออกมาจากเล้าหมดแล้วให้เด็กๆช่วยนับไก่และหยิบตัวเลขมากำกับ
7.ให้เด็กแยกไก่ชนออกมาจากกองไก่แจ้และไก่ฟ้า
8.ครูถามเด็กๆว่าไก้สายพันธ์ไหนมากที่สุด และเด็กๆรู้ได้ไงว่ามากที่สุด
9.ครูพาเด็กๆพิสูจน์ด้วยวิธีการนับออก 1ต่อ1 โดยให้เด็กๆออกมาหยิบไก่โดยเหลือไก่สายพันธ์หนึ่งที่เหลืออยู่




ขั้นสรุป
10.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าไก่ที่เหลือสายพันธุ์สุดท้ายคือไก่ที่มากที่สุด
11.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กรู้จักไก่สายพันธุ์ใดบ้าง




สื่อ 
1. ชาร์ตคำคล้องจองไก่
2. เล้าไก่
3.รูปภาพไก่ชน
4.รูปภาพไก่แจ้
5.รูปภาพไก่ฟ้า
6.ตัวเลข

การวัดและประเมินผล
สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม

การบูรณาการ
1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์

ตัวอย่างการสอนของเพื่อน

หน่วยนม เรื่องลักษณะ (วันอังคาร)








หน่วยข้าว เรื่องการถนอมอาหาร (วันพุธ)
ทำน้ำหมักสำหรับไล่แมลง






หน่วย ส้ม การถนอมอาหาร (วันพุธ)
สอนแบบSTEM








หน่วย กล้วย เรื่องประโยชน์และข้อควรระวัง (วันพฤหัสบดี)
นิทานเรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด




หน่วย น้ำ เรื่อง cooking (วันศุกร์)
การทำน้ำอัญชัน











Skill(ทักษะ)
-การวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การแสดงความคิดเห็น
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น

Application(การประยุกต์ใช้)
สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กได้จริง รู้ข้อผิดพลาดในการสอนที่สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น

Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
แนะนำการสอนที่ถูกต้อง และเสนอแนะสิ่งที่ควรแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสม

Self(ตนเอง)่
มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมของเพือน

Friends(เพื่อน)
ให้ความร่วมมือกับการทำกิจกรรม

Environment(สภาพแวดล้อม)
อุปกรณืการเรียนมีความพร้อม ห้องเรียนสะอาด




วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา 13.30-17.30 น.

Knowledge(ความรู้)

การขียนแผนการเรียนการสอน หน่วย ไก่
วันจันทร์ สอนเรื่อง สายพันธุ๋
วันอังคาร สอนเรื่อง ส่วนประกอบ
วันพุธ สอนเรื่อง การดำรงชีวิต
วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยชน์-โทษ
วันศุกร์ สอนเรื่อง cooking การทำแซนวิชไก่

รับผิดชอบวันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยชน์และโทษของไก่



  • วัตถุประสงค์

เด็กสามารถบอกประโยชน์และโทษของไก่ได้

  • สาระที่ควรเรียนรู้

เด็กสามารถบอกประโยชน์และโทษของไก่ได้

  • ประสบการณ์สำคัญ

ด้านสังคม
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านสติปัญญา
-การฟังเรื่องราว นิทาน คำคล้องจอง คำกลอน
-การจับคู่ การจำแนกและการแบ่งกลุ่ม

  • กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ
1. ครูเล่านิทานเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของไก่ให้เด็กๆฟัง

ขั้นสอน
2. คุณครูถามถึงประโยชน์และโทษของไก่ที่มีอยู่ในนิทาน
3. คุณครูแจกบัตรคำพร้อมรูปประกอบให้เด็กและให้เด็กนำบัตรคำมาติดในตารางประโยชน์และโทษ

ขั้นสรุป
4. คุณครูและเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์และโทษของไก่

  • สื่อ 

1. นิทาน
2. บัตรคำพร้อมรูปภาพประกอบ

  • การวัดและประเมินผล

บอกบันทึกการสังเกต
-เด็กสามารถบอกประโยชน์และโทษของไก่ได้

  • การบูรณาการ

1. ภาษา
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์









Skill (ทักษะ)
-การคิดสร้างสรรค์
-การตอบคำถาม
-การสังเกต
-การแสดงความคิดเห็น

Application(การประยุกต์ใช้)
รู้แนวทางการเขียนแผนการเรียนการสอน และวิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้องและเหมาสม

Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
อธิบายขั้นตอนและวิธีการเขียนแผนการสอนอย่างละเอียด 

Self(ตนเอง)
ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีปฎิสัมพันธ์กับคุณครู

Friends(เพื่อน)
ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึก

Environment(สภาพแวดล้อม)
ห้องเรียนสะอาด เรียบร้อย