Winnie The Pooh Bear

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกเารียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30-17.30 น.

Knowledge(ความรู้)
  • นำเสนอสื่อ(วิดิโอ) การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์





ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ควรมีตัวหนังสือกำกับในส่วนของวัสดุและต้องบอกจำนวน เช่น ฝา1 ฝา แผ่นซีดี 1 แผ่น
-ขั้นตอนการทำควรมีตัวหนังสือกำกับเป็นขั้นๆ
-เมื่อทำเสร็จแล้วต้องมีการทบทวนด้วยผังกราฟฟิก

  • การทำMine map บูรณาการการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ(ทำงานตามกลุ่ม)

คณิตศาสตร์ 6 สาระ
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ี2 การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
ทักษะที่1 การสังเกต
ทักษะที่2 การวัด
ทักษะที่3 การคำนวณ
ทักษะที่4 การจำแนกประเภท
ทักษะที่5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
ทักษะที่6 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะที่7 การลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะที่8 การพยากรณ์
ทักษะที่9 การตั้งสมมติฐาน
ทักษะที่10การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะที่11การกำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะที่12การทดลอง
ทักษะที่13การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อมูล

กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ 8มาตรฐาน
สาระที่1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่5 พลังงาน
สาระที่6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น
ขั้นที่1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่2 ตั้งสมมุติฐาน
ขั้นที่3 ทดลอง
ขั้นที่4 วิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นที่5 สรุป

ศิลปะ
วาภาพ/ระบายสี
การปั้น
ฉีก/ตัด/ปะ
การพิมพ์ภาพ
การประดิษฐ์
การเล่นกับสี

สังคม
การช่วยเหลือตนเอง
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น การทำงานคู่ การทำงานกลุ่ม

สุขศึกษาและพละศึกษา
การเล่นกลางแจ้ง
เคลื่อนไหวและจังหวะ

  • ทำMine map บูรณาการการเรียนการสอนตาม 6 กิจกรรมหลัก
1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2 กิจกรรมเสริมประสบกาณ์
3 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4 กิจกรรมเสรี
5 กิจกรรมกลางแจ้ง
6 กิจกรรมเกมส์การศึกษา

Skill(ทักษะ)
-การตอบคำถาม
-การวิเคราะห์
-การทำงานเป็นกลุ่ม
-การระดมความคิด

Application(การประยุกต์ใช้)
การบูรณาการการเรียนการสอนตามสาระต่างๆและการบูรณาการการเรียนการสอนตาม 6 กิจกรรมหลัก ทำให้เรามีความรู้และรู้หลักที่จะสามารถนำไปใช้กับเด็กได้

Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการสอน(วิดิโอ)

Self(ตนเอง)
ให้ความร่วมมือกับการทำงาน ตั้งใจเรียน

Friend
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และช่วยเหลือกันในการทำงาน

Environment
ห้องเรียนสะอาด


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30-17.30 น.

Knowledge(ความรู้)
  • นำเสนอ Mine map ของแต่ละกลุ่มที่นำไปแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์
กลุ่ม ส้ม (Orange)



กลุ่ม นม(Milk)



กลุ่ม ข้าว (Rice)



กลุ่ม น้ำ (Water)



กลุ่ม กล้วย (Banana)


อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติม คือ อันไหนที่สามารถวาดรูปได้ควรวาดลงไป หรือ หารูปมาติด เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพ = ภาษาธรรมชาติ

หลักการเขียน Mine map
- เริ่มเขียนจากขวามือ(ตามเข็มนาฬิกา)
- บันทึกจากหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย
- เขียนให้อ่านง่าย ชัดเจน
- ควรวาดรูปหรือปริ้นรูปมาติด

วิเคราห์การเชื่อมโยงกรอบมาตรฐานวิทยาศาตร์ มี 8 สาระ

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
เรื่องที่ีสามารถสอนได้ เช่น เรื่องไก่

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่องที่สามารถสอนได้ เช่น เรื่องน้ำ 

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
เรื่องที่สามารถสอนได้ เช่น เรื่องไก่ เรื่องข้าว เรื่องกล้วย เรื่องส้ม เรื่องน้ำ

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
เรื่องที่สามารถสอนได้ เช่น เรื่องน้ำ เรื่องนม เรื่องส้ม

สาระที่ 5 พลังงาน
เรื่องที่สามารถสอนได้ เช่น เรื่องข้าว

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
เรื่องที่สามารถสอนได้ เช่น เรื่องฤดูกาล

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
เรื่องที่ศาสตร์สอนได้ เช่น เรื่องดวงดาว

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่องที่สามารถสอนได้ เช่น เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาตร์

Skill(ทักษะ)
-การตอบคำถาม
-การแสดงความคิดเห็น
-การวิเคราะห์
-การสังเกต

Application(การประยุกต์ใช้)
ฝึกเขียน Mine map ที่ถูกต้องและถูกหลัก

Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
เตรียมการสอนมาอย่างดี ให้ความใส่ใจกับนักเรียนทุกคน พร้อมให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการทำงาน

Self(ตนเอง)
ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเพิ่มเติม มาเรียนตรงเวลา

Friend(เพื่อน)
ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเพิ่มเติม

Environment(สภาพแวดล้อม)
ห้องเรียนสะอาด มีเก้าอี้เพียงพอกับเด็ก




บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่11
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30-17.30 น.

Knowledge (ความรู้)

  • นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปจัดตามมุมได้
พลังแม่เหล็ก




วัสดุอุปกรณ์
1. แม่เหล็ก
2. กระดาษสี
3. ดินน้ำมัน
4. กระปุกพลาสติก
5.ก้านลูกโป้ง
6. กล่องสำหรับใส่แม่เหล็ก

วิธีการทำ
1. นำแม่เหล็กมาติดกับกระดาษสี
2. นำดินน้ำมันใส่ในกระปุกพลาสติกเพื่อถ่วงน้ำหนัก
3. นำก้านลูกโป่งเสียบตรงกลางดินน้ำมัน
4. เสร็จสมบูรณ์

วิธีการเล่น
นำแม่เหล็กใส่ลงไปที่ก้านลูกโป่ง ถ้าแม่เหล็กขั้วเดียวกันจะดูดกัน แต่ถ้าแม่เหล็กต่างขั้วจะผลักกัน





นาฬิกาธรรมชาติ


 วงจรของโลก


ไข่มหัศจรรย์


Twin plane


ภาพใต้น้ำ


ผีัเสื้อเริงระบำ


จานหรรษา


แม่เหล็กเต้นระบำ


ระบบสุริยจักรวาล


  • การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้ระบบ STEM
การเลือกหัวข้อให้เด็กเรียนต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กที่เด็กสามรถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้และมีผลกระทบกับตัวเด็ก

นำหัวข้อมาแตกองค์ความรู้ มีหัวข้อ คือ
1 ประเภท สายพันธ์ุ
2 ลักษณะ เช่น สี รูปร่าง ขนาด กลิ่น สี รส ส่วนประกอบ พื้นผิว
3 การดูแลรักษา การดำรงชีวิต
4 ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5 โทษ ข้อพึงระวัง

เครื่องมีในการเรียนรู้ คือ
1 คณิตศาสตร์
2 ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศษสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการและการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี


วิธีทางวิทยาศาสตร์
-การตั้งขอบข่ายปัญหา
-การตั้งสมมติฐาน
-การทดลอง
-วิเคราะห์


การแตกองค์ความรู้









Skill(ทักษะ)
-การตอบคำถาม
-การระดมความคิด
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การวิเคราะห์

Application(การประยุกต์ใช้)
รู้หัวข้อในการแตกองค์ความรู้ 

Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
อธิบานและค่อยให้ข้อเสนอแนะในการทำงาน

Self(ตนเอง)
มีส่วนร่วมในการทำงาน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Friend(เพื่อน)
ตั้งใจทำงาน และช่วยกันทำงานจนสำเร็จ

Environment(สภาพแวดล้อม)
ห้องเรียนสะอาด มีอุปกรณ์พร้อม

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559
 เวลา 13.30-17.30 น.


Knowledge(ความรู้)

  • เพื่อนนำเสนอของเล่นวิทยศาสตร์


  • การสอนแบบSTEM
เขียนผังกราฟฟิกขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นของตนเอง เพื่อเป็นการทำทบทวนและหัดใช้คำที่สั้นๆเด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย
ผังกราฟฟิกเป็นเครื่องมือ STEM
เป็นขั้นตอน = การวางแผน = E
เขียนลำดับก่อน-หลัง = M




แล้วนำผังกราฟฟิกไปติดบนกระดาษ


  • การจัดประสบการณ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
ขั้นตอน
1 เตรียมอุปกรณ์ ถามเกี่ยวกับประสบการณืเดิม
2 ใช้สื่อ เช่น วิดิโอ
3 สาธิตให้เด็กได้ดู
4 ลงมือปฏิบัติ
5 เด็กลงมือเล่น/ทดลอง
6 แข่งขัน
7 สรุป

ของเล่นวิทยาศาตร์แต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 แผ่นซีดีเป่าให้ลอย(กลุ่มตนเอง)
กลุ่มที่ 2 ลูกข่างมหัศจรรย์
กลุ่มที่ 3 รถหลอดด้าย
กลุ่มที่ 4 ปืนลม
  • ของเล่นซีดีเป่าให้ลอย
วัสดุ/อุปกรณ์
1 แผ่นซีดี 1 แผ่น
2 ฝาขวดน้ำ 1 ฝา
3 สายยาง 1 เมตร
4 กาว
5 กรรไกร

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1 ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์เจาะรูตรงกลางที่ฝาขวดน้ำให้มีขนาดพอดีกับสายยาง
2 นำสายยางใส่เข้าไปที่ฝาขวดน้ำที่เจาะรูแล้ว
3 ทากาวบริเวณที่เจาะรูทั้งด้านนอกและด้านใน รอกาวแห้ง
4 นำฝาขวดมาติดกับแผ่นซีดี
5 เสร็จแล้ว สามารถนำไปเป่าเล่นได้

ก่อนที่เราจะสอนเด็กประดิษฐ์ของเล่นเราต้องมีสื่อให้เด็กดูก่อน คือวิดิโอ โดยอาจารย์ให้แบ่งออกตามกลุ่มและช่วยกันระดมสมองว่าจะมีขั้นตอนอย่างไร มีการใช้คำถาม คำพูดอย่างไร





การจัดประสบการณ์วิทญษศาสตร์
1 ร้องเพลงสงบเด็ก
2 มีอุปกรณ์วางไว้แล้วถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน
3 ครูแนะนำอุปกรณ์ โดยถามเด็กว่าเด็กๆรู้จักอุปกรณ์อะไรบ้าง อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้เอาไว้ใช้ทำอะไร
4 นำสื่อมาให้เด็กดู(วิดิโอ)
5 ให้เด็กลงมือประดิษฐ์ เมื่อเด็กประดิษฐ์เสร็จให้ถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้แผ่นซีดีลอย หรือ ถ้าเราเป่าแล้วแผ่นซีดีจะเป็นอย่างไร
6 ให้เด็กทดลองเล่น
7 ให้เด็กได้แข่งขันกัน ว่าใครสามารถเป่าไปได้ไกลที่สุด เครื่องมือที่ใช้วัด คือ รูปมือขนาด 1 คืบ 
8 สรุปผลการทดลอง แผ่นซีดีเป่าให้ลอยเกิดจาก แรงดันอากาศ

Skill(ทักษะ)
-การวิเคราะห์
-การตอบคำถาม
-การระดมความคิด
-การทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การนำเสนอ

Application(การประยุกต์ใช้)
รู้จักขั้นตอนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
อธิบายขั้นสอนการสอน/เทคนิคต่างๆ

Self(ตนเอง)
มาเรียนตรงเวลา ตอบคำถามต่างๆ

Friend(เพื่อน)
ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก

Environment(สภาพแวดล้อม)
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์มีความพร้อม





บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30-17.30 น.

Knowledge(ความรู้)

  • กิจกรรมCooking ทาโกะยากิไข่ข้าว
โดยแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อเข้าไปตามฐาน แต่ละฐานมีหน้าที่ ดังนี้
ฐานที่ 1  วาดรูปวัสถุดิบ/อุปกรณ์
ฐานที่ 2  เตรียมอุปกรณ์/หั่นวัสถุดิบ
ฐานที่ 3  ผสมวัสถุดิบ/ปรุงรส
ฐานที่ 4 ทำทาโกะยากิไข่ข้าว




การดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
ร้องเพลงเกี่ยวกับอาหาร โดยใช้เพลงอาหารดีมีประโยชน์

เพลง อาหารดีมีประโยชน์
อาหารดีนั้นมีประโยชน์ คือ ผักสดและเนื้อหมู ปู ปลา
เป็ด ไก่ ไข่ นม ผลไม้นานา
ล้วนมีคุณค่าต่อร่างกายของเรา


การร้องเพลง คุณครูต้องร้องให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ
                      รอบที่ 2 ร้องตามคุณครูทีละท่อน
                      รอบที่ 3 คุณครูและเด็กร้องเพลงไปพร้อมๆกัน

ต้องถามเด็กว่า -มีอาหารอะไรบ้างที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราที่อยู่ในเนื้อเพลง
                        -นอกจากในเพลงแล้วยังมีอาหารอะไรอีกที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา

ขั้นสอน
-แบ่งเด็กออกเป็น 4 ฐาน
-เริ่มกิจกรรมด้วยการถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันค่ะ
-จากนั้นแนะนำวัสดุดิบอุปกรณ์ โดยมีตัวอย่างจริงให้เด็กดู (ถ้าเป็นผัก ต้องเป็นผักที่ยังไม่ได้หั่น เพื่อให้เด็กได้เห็นของจริง เห็นถึงรูปทรงต่างๆ) โดยการใช้คำถามว่า เด็กๆอันนี้คืออะไรค่ะ เด็กเคยเห็นที่ไหนค่ะ
ถ้าเป็นของที่เด็กไม่รู้จักให้เราหยิบขึ้นมาแล้วบอกเด็กว่าคืออะไร แล้วให้เด็กพูดตาม
-สาธิตวิธีการทำให้เด็กดู 1 รอบ สามารถเรียกเด็กที่ตั้งใจฟังออกมาช่วยทำได้ เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม





ฐานที่ 1 วาดรูปวัสดุดิบ/อุปกรณ์ บูรณาการด้านคณิตศาสตร์ การนับ รูปร่าง/รูปทรง




ฐานที่ 2 เตรียมอุปกรณ์/หั่นวัสถุดิบ ให้เด็กได้หั่นผัก มีดที่ใช้ต้องเป็นมีดพลาสติกและต้องมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด บูรณาการด้านคณิตศาสตร์ ขนาด รูปร่าง/รูปทรง



ฐานที่ 3 ผสมวัสถุดิบ/ปรุงรส(ห้ามใช้รสดีกับผงชูรส) แจกถ้วยให้เด็กคนละ 1 ถ้วย เพื่อให้เด็กไก้ผสมของตนเอง โดยคุณครูต้องกำหนดว่าใส่อย่างละกี่ช้อน เป็นการบูรณาการด้านคณิตศาสตร์ เด็กรู้จักการนับ การตวง ปริมาณ



ฐานที่ 4 ทำทาโกะยากิไข่ข้าว ให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ครูต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและต้องบอกเด็กว่าระวังอย่าให้โดนเตาเพราะจะร้อนและเป็นอันตราย บูรณาด้านวิทยาศาตร์ การสังเกตการเปลี่ยนแปลง 





ขั้นสรุป 
ทบทวนที่เรียนไป ตั้งแต่เพลง วัตถุดิบ/อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ

***การทำกิจกรรมต้องให้เด็กมีส่วนร่วม และต้องให้แรงเสริมกับเด็ก เช่น คำชม ปรบมือ การเสริมประสบการณ์สำคัญเพราะให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองและได้ลงมามีส่วนร่วม การทำกิจกรรมขั้นตอนทุกขั้นตอนต้องสามารถบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้ เพลงที่ใช้เก็บเด็ก เราจะไม่ใช่คำว่าเพลงเก็บเด็กแต่ให้ใช้คำว่า เพลงสงบเด็กแทน ***


Skill(ทักษะ)
-การสังเกต
-การตอบคำถาม
-การแสดงความคิดเห็น

Application(การประยุกต์ใช้)
รู้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมCooking ให้กับเด็ก รู้จักเพลงที่ใช้สอน/เพลงสงบเด็กเพิ่มมากขึ้น


Evaluation(การประเมิน)

Teacher(ครู)
อาจารย์เสริทเทคนิคเพิ่มเติม

Self(ตนเอง)
ตั้งใจร่วมกิจกรรม มีการจดบันทึก

Friend(เพื่อน)
ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม และตั้งใจทำกิจกรรม

Environment(สภาพแวดล้อม)
บรรยากาศสนุกสนาน อุปกรณ์มีความพร้อม